วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาชีพ: บริหารการเงินขององค์กร

อาชีพในอนาคตที่ฉันไฝ่ฝัน คือ การเป็นนักบริหารการเงินขององค์กร เนื่องจากฉันมีความชอบด้านการเงินจากการที่มีคุณพ่อคุณแม่ทำงานเป็นนักการเงินและนักบัญชีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฉันจึงรู้ว่าการเป็นนักการเงินนั้นเป็นอย่างไร




ลักษณะงานที่นักการเงินทำ คือ การบริหารการเงินขององค์กร ได้แก่ การวิเคราะห์ การตัดสินใจทางการเงินขององค์กร การดูแลเงินงบประมาณ การทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร เป็นต้น นักการเงินมีหน้าที่ดูแลการใช้จ่ายเงินขององค์กรให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรนั้นๆ และมีส่วนช่วยในการตัดสินใจการลงทุนขององค์กร ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปจนเกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ นอกจากนี้ยังต้องเขียนรายงานสรุปการเงินแต่ละเดือนหรือปีส่งให้ผู้บริหารพิจารณาอีกด้วย

บุคลิกภาพหรือนิสัยของนักการเงิน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความซื่่อสัตย์ที่จะไม่คดโกงต่อองค์กร เพราะนักการเงินมีหน้าที่ดูแลจัดการเงินโดยตรง การใกล้ชิดกับเงินเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้านักการเงินขาดความซื่อสัตย์ต่อองค์กรยักยอกเงินขององค์กรไปเป็นของตนเอง องค์กรนั้นๆก็ไม่สามารถคงอยู่ด้วยความมั่นคงได้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ความละเอียดรอบคอบ นักการเงินที่ขาดความรอบคอบทำให้เกิดความผิดพลาด

นักการเงินเป็นอาชีพที่เงินเดือนในช่วงเริ่มแรกไม่มากนัก อาจจะอยู่ที่ 12,000 - 15,000 บาทต่อเดือน สำหรับนักศึกษาที่จบปริญญาตรี แต่ถ้าเป็นเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง อาจจะเป็นหลักแสนได้

สถานที่ทำงานของนักการเงิน คือ ทำงานในสำนักงาน หรือห้องส่วนตัวในสำนักงาน

คณะของนักการเงิน ได้แก่ คณะสาขาการเงิน คณะสาขาการบัญชี คณะสาขาเศรษฐศาสตร์ คณะสาขาการบริหาร เป็นต้น



ดังนั้นนักการเงินจึงเปรียบเหมือนคนนำทางขององค์กรคนหนึ่งซึ่งจะขาดไปไม่ได้ ทำให้ตลาดของนักการเงินเป็นที่ต้องการ เพราะองค์กรส่วนมากต้องการนักการเงิน จึงทำให้เป็นอาชีพที่หางานง่ายนั่นเองค่ะ


วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัดทองสุทธาราม 21/6/57

กิจกรรมจิตอาสาที่วัดสุทธาราม


                     เนื่องด้วยฉันไปเรียนพิเศษเสริมวันเสาร์ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามปกติ ซึ่งคุณพ่อมีกิจธุระที่จะนิมนต์พระจากวัดสุทธาราม แต่ว่าก่อนหน้านี้มีฝนตกหนัก มีเศษใบไม้เยอะมาก ระหว่างที่รอคุณพ่อฉันจึงตัดสินใจไปทำความสะอาดวัด ดังนั้นจึงเกิดเป็นกิจกรรมจิตอาสาขึ้น




ถูกแอบถ่ายตอนหลับตา TT___TT




                     วัดทองสุทธารามตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเทพ-นนท์ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของฉัน ฉันชอบวัดนี้เพราะที่บ้านชอบมาทำบุญที่วัดนี้เป็นประจำ ครอบครัวของฉันจะไปทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาเกือบทุกปีที่วัดนี้ วัดทองสุทธารามเป็นที่ได้รับความศรัทธาอย่างมากจากชาวบ้านที่อยู่แถวๆนั้น สังเกตได้จากในวันเข้าพรรษาจะมีพระมารับบาตรเกือบร้อยรูปทุกปี






นี่เป็นรูปถ่ายหน้าวัดซึ่งตอนนี้แขวงบางซื่อถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงวงศ์สว่างแล้ว



                   
                    สุดท้ายนี้ฉันก็รู้สึกว่าฉันมีความสุขกับกิจกรรมนี้มาก และก็อยากมาทำกิจกรรมดีๆอย่างนี้อีก เพราะว่าพอฝนตกพื้นก็เปียก ทำให้ใบไม้ติดกับพื้นบวกกับกระจัดกระจายอยู่ที่พื้นและมีอีกมากที่ถูกพัดไปที่อื่น และก็ทำให้กวาดยากแต่ว่าฉันก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มาทำที่วัดทองสุทธาราม 

(ถึงตอนถ่ายไม่ได้ยิ้มก็เถอะ TT____TT)

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557


จิตอาสา คืออะไร...... คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น "จิตอาสา"

คำนี้คนจำนวนหนึ่งคงได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกมากมายหลายล้านคน ไม่เคยได้ยินหรือรู้ความหมายของ คำเล็กๆ คำนี้เลย

             จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง

             "อาสาสมัคร" เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มี จิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมาก กับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ สังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น

             การเป็น "อาสาสมัคร"   ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น  คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จำกัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจำกัด ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็น "จิตอาสา" ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม เท่านั้น จิตอาสา คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น ....   หากแต่เพียงมองรอบตัวท่าน ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม...

 โดย : ประวิตร พิสุทธิโสภณ

“เนื้อ แท้ของความเป็นอาสาสมัครนั้นอยู่ที่จิตใจ คือมี ‘จิตอาสา’ ที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น หรือนึกถึงส่วนรวม จะเป็นครู พ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ก็สามารถเป็นอาสาสมัครได้ตลอดเวลาหากมีจิตใจ ที่คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ เราจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ‘อาสาสมัคร ’ นั้นไม่ใช่เป็นอาชีพ หากคือสำนึกที่สมควรมีอยู่คู่กับความเป็นมนุษย์ของเราจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ”

โดย :พระไพศาล วิสาโล



“มีจิตสาธารณะ” (public consciousness)


จิตสาธารณะ คือ จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง
แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

สรุป จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ
จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง
ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public) เป็น การแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม…